btg-supply สมุนไพรกำจัดปลวก น้ำยากำจัดปลวก
ที่นี่มิผลิตภัณฑ์ สมุนไพรกำจัดปลวก และ น้ำยากำจัดปลวก ให้เลือกมากมาย เช่น
น้ำยากำจัดปลวก อาร์โปรเทค น้ำยากำจัดปลวก ซันตาน่า น้ำยากำจัดปลวก อาร์เจนด้า
สมุนไพรกำจัดปลวก เทอร์มิน่า ออยล์ สมุนไพรกำจัดปลวก เทอร์มิเนต สมุนไพรกำจัดปลวก เทอร์มินัส
สาระน่ารู้ > วัตถุอันตราย

แมลงและสัตวฟันแทะหลายชนิดเป็นต้นเหตุนำโรค นำความรำคาญและความสูญเสียทางเศรษฐกิจย่างมากมาสู่มนุษย์ ในอดีตมนุษย์พยายามหาวิธีควบคุม ป้องกันและกำจัดมาโดยตลอดเริ่มตั้งแต่การใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติเป็นต้นมา จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2485 ได้มีการนำสารดีดีที (dichlorodiphenyl trichloroethane) มาใช้กำจัดแมลงเป็นครั้งแรก ต่อมาได้มีการใช้สารอินทรีย์สังเคราะห์อื่นๆ ในการกำจัดแมลงพืชกันอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก และในปัจจุบันหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยได้ห้ามการใช้สารดีดีทีแล้ว เนื่องจากมีข้อมูลทางเป็นพิษต่อมนุษย์และการตกค้างยาวนานในสิ่งแวดล้อม และนอกจากการใช้กำจัดแมลงศัตรูพืชในทางเกษตรแล้ว ก็ยังมีการนำมาใช้กำจัดแมลงที่เป็นปัญหาในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุขด้วย
วัตถุอันตรายที่นำมาใช้เพื่อกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นปัญหาในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข เช่น ยุง แมลงวัน ปลวก มด แมลงสาบ ไรฝุ่นและหนูเป็นต้น มีหลายรูปแบบต่างๆ กัน เช่น ชนิดฉีดพ่นอัดก๊าซและฉีดพ่นธรรมดา ชนิดขด ชนิดแผ่นไฟฟ้า ชนิดผงชนิดเหยื่อ เป็นต้น
1. วัตถุอันตรายที่ใช้ป้องกันกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นปัญหาในบ้านเรือนและทางสาธารณสุข แบ่งตามคุณสมบัติทางเคมี 3 กลุ่มดังนี้
1.1 สารประกอบอนินทรีย์
เป็นสารประกอบของแร่ธาตุที่พบตามธรรมชาติ ไม่มีธาตุคาร์บอนในโมเลกุล มีความเสถียรมาก ไม่ระเหย ละลายน้ำได้ดี บางชนิดคงอยู่ได้นาน มีพิษสะสมต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นต้น
1.2 สารสกัดจากธรรมชาติ
ได้แก่ สารสกัดจากพืชตะไคร้หอม สารสกัดจากพืชหนอนตายยากปัจจุบันมีการส่งเสริมให้ใช้มากยิ่งขึ้น
1.3 สารประกอบอินทรีย์
เป็นสานที่สัเคราะห์ขึ้นมีส่วนผสมของธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจนและธาตุอื่นๆ เช่นคลอรีน ออกซิเจน กำมะถัน ฟอสฟอรัสและไนโตรเจน เป็นต้น
2. รูปแบบของสูตรผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย
ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่ใช้ในการควบคุม ป้องกันและกำจัดสัตว์ที่เป็นปัญหาในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุขดัวกล่าวข้างต้นที่วางจำหน่ายโดบทั่วไปนั่น นอกจากจะประกอบด้วยสารสำคัญแล้วยังมีส่วนประกอยอื่นๆ เพื่อลดความเป็นอันตรายจากการลดความเข้มข้นของสารสำคัญ เพิ่มประสิธิภาพ ตลอดจนเพื่อความสะดวกต่อการนำไปใช้และการขนย้าย
3. ความเป็นพิษของวัตถุอันตราย
ความเป็นพิษ หมายถึง ความสามารถเฉพาะตัวของสารใดสารหนึ่งในการทำให้เกิดพิษต่อสิ่งมีชีวิต มี 2 ลักษณะ ดังนี้
ความเป็นพิษเฉียบพลัน หมายถึง ความเป็นพิษจากวัตถุอันตรายทันที หลังจากเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์แล้วทำให้เกิดความเสียหายต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น ระบบประสาท ทำให้มีน้ำลายไหล เหงื่อออก ม่านตาหรี่ เป็นต้น
ความเป็นพิษเรื้อรัง หมายถึง ความเป็นพิษที่เกิดขึ้นหลังจากได้รับหรือสัมผัสกับสารนั้นเป็นเวลานาน เช่น การเกิดพิษต่อเม็ดเลือด การเกิดพิษต่อระบบสืบพันธุ์ การเกิดเนื้องอกและมะเร็ง เป็นต้น